จออูโฮมสเตย์ เป็นความร่วมมือของ อ.ดิเรก ศรีมาลี ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 พ่อหลวงสมศักดิ์ ศรีมาลี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่7 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน นายธูเล และคุณศิริ ศรีมาลีซื่งเป็นลูกๆของพ่อจออูเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับธรรมชาติที่ ยังมีอยู่ในส่วนหนื่งของประเทศไทย
โดย อ.สุพจน์ สังข์ลาโพธิ์ บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง จัดทำเพื่อนำเสนอข้อมูลโดยตรง ได้รับทราบทั่วกัน
เพื่อเป็นที่ระลึกให้กับพ่อจออู ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับชุมชนตลอดมา
การขอใช้บริการ จออูโฮมสเตย์ ท่าตาฝั่ง ได้ดังนี้
-อ.สุพจน์สังข์ลาโพธิ์ บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง 081-5238996,081-7628718
-อ.ดิเรก ศรีมาลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 โทร 081-9603866
-พ่อหลวงสมศักดิ์ ศรีมาลี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่7 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
การเดินทางไปจออูโฮมสเตย์ บ้านท่าตาฝั่ง
- รถโดยสารสองแถวประจำทาง แม่สะเรียง-แม่สามแลบ จอดคิว หน้าร้านขายยาสฤษ์พล สามแยกตลาดเชัาแม่สะเรียง 6.00-16.00น.ราคาคนละ50บาท ระยะทาง47กม.เส้นทางสะดวกหน้าแล้ง ลำบากหน้าฝน เหมาะสำหรับรถยนต์ประเภทยกสูงทั่วไป ใช้เวลา 1.30ชม.
-จากท่าเรือแม่สามแลบ นั่งเรือทวนน้ำขึ้นหนือ ประมาน 40นาที ค่าเรือไปกลับคนละ100บาท เหมาลำ1,300บาท หรือเช่าเหมาชมแม่น้ำระยะสั้นแล้วแต่ตกลง ต้องมีการลงชื่อจากเจ้าหน้าที่เพื่อรับเสื้อชูชีพทุกคน
-ปัจจุบันสามารถขับรถไปบ้านท่าตาฝั่งได้ระยะทาง17กม.เส้นทางไต่ขอบเขาเลียบแม่น้ำสาละวิน ผ่านลำห้วยประมาณ6ลำห้วย ใช้ความระมัดระวังพอควร
-เส้นทางจากบ้านท่าตาฝั่งสามารถกลับแม่สะเรียงตามเส้นทางบ้านท่าตาฝั่ง-แม่คงออกทางอุทยานแห่งชาติสาละวิน ระยะทาง37กม.ผ่านทุ่งนา ลำห้วย บางครั้งต้องวิ่งตามลำห้วยลุยน้ำวิ่งบนก้อนหิน ปีนเขาขึ้นถนนลอยฟ้าวิ่งขนานกับหมู่เมฆ อากาศเย็น น้ำใส ใช้เวลาประมาณ 2.30 ชม.ต้องเป็นรถประเภทขับเคลื่อนสี้ล้อเท่านั้น
ผู้ขับขี่ต้องมีความรู้เรื่องการขับรถ Offroad เป็นอย่างดี สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ควรเดินทางเป็นคณะ และแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทราบ เครื่องมือสื่อสารไม่มีสัญญาณ(มือใหม่ควรได้รับคำแนะนำ)
บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบส่งเสริมชุมชน รับรองและประสานงาน สำหรับคณะทัวร์ ครอบครัวหรือหมู่คณะที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวผจญภัยครบรูปแบบ ให้บริการ
-ที่พักบ้านยอดตำลึงโฮมสเตย์ 4หลัง 10ห้องนอน ที่กางเต้นท์ ฟรี ห้องน้ำสะอาดมาตรฐาน
-ร้านอาหารบ้านยอดตำลึง เมนู ปลาสาละวินสดๆ รสชาติดี ไม่มีก้าง ฟังเพลงเก่าย้อนยุคจากป้าบัวแดง ฟัง-ชมได้จากลิ้งก์
-จำหน่ายชาสมุนไพรสีทอง มีทั้งอย่างชงและอย่างซอง มีให้ชิม
-มีที่จอดรถในร่ม ลานจอดรถกว้างขวาง มีอู่ดูแลรถ บริการรถขับเคลื่อนสี่ล้อพร้อมคนขับ
-รับจัดโปรแกรมทัวร์พร้อมการสนับสนุนเสริม
20.12.53
19.12.53
จออูโฮมสเตย์ บ้านท่าตาฝั่ง
ความเป็นมาของหมู่บ้านท่าตาฝั่ง
หมู่ บ้านท่าตาฝั่งในปัจจุบัน ตั้งอยู่บริเวณสบห้วยแม่กองคากับแม่น้ำสาละวิน ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า นายจออู ศรีมาลี เป็นคนแรกที่มาก่อตั้งหมู่บ้านนี้ พ.ศ.2484 เดิมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านน้อย-บ้านจออู" พ.ศ.2518 จึงถูกยกฐานะเป็นหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายจออู ศรีมาลี
เดิมทีชาวบ้านจะตั้งบ้านเรือนเป็นหย่อมๆ และอยู่รวมกันเป็นเครือญาติ ตามลำห้วยที่อุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ พืชผักธัญญาหารต่างๆ รวมทั้งพื้นที่ทำการเกษตร ในลำห้วยหรือขุนห้วย หมู่บ้านหรือหย่อมบ้านที่เกี่ยวข้องกัน ในอดีตเป็นหมู่บ้านที่เดียวกัน คือ บ้านแม่กองคา บ้านกลาง บ้านหม้อหล้า ปัจจุบันตั้งชื่อเป็นบ้านแม่กองคา หมู่ที่ 10 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ส่วนบ้านแม่ปอและบ้านท่าตาฝั่งปัจจุบันยังเป็นหมู่บ้านเดียวกัน คือ บ้านท่าตาฝั่ง หมู่ที่ 7 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ชาวบ้านท่าตาฝั่งประกอบด้วยคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง และกลุ่มผู้อพยพจากประเทศพม่าอันเนื่องมาจากปัญหาความไม่สงบภายใน ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์คณะแบ๊ปติสต์ สังกัดสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย (ภาคที่ 19) ในหมู่บ้านมีโรงเรียน 1 แห่ง สร้างเมื่อ พ.ศ.2509
ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านท่าตาฝั่งที่มีบัตรประเภทต่างๆ ทร.14 จำนวนทั้งหมด แยกเป็นชาย 218 คน หญิง 197 คน รวม 604 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด เฉพาะที่บ้านท่าตาฝั่ง 83 หลังคาเรือน บ้านแม่ปอ 31 หลังคาเรือน ชาวบ้านท่าตาฝั่งมีรายได้เฉลี่ย 5,000 - 8,000 บาทต่อครอบครัวต่อปีโดยประมาณ
ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ข้าว ทำสวน ปลูกผักริมแม่น้ำสาละวินในฤดูแล้ง เลี้ยงสัตว์(แพะ) ทำการประมง หาของป่า เช่น น้ำผึ้ง อาชีพเสริมอื่นๆ ได้แก่ ค้าขาย รับจ้างแล่นเรือในแม่น้ำสาละวิน จักสาน ทอผ้า และการทำการท่องเที่ยวแบบ HOME STAY ในบ้านท่าตาฝั่ง ชาวบ้านมีที่นาทั้งหมด 28 ครัวเรือน พื้นที่นารวม 245 ไร่ มีที่ทำไร่ทั้งหมด 10 ครอบครัว พื้นที่ทำไร่รวม 250 ไร่ และชาวบ้านที่ไม่มีที่นาและไร่ทั้งหมดรวม 45 ครอบครัว
ที่ตั้งของหมู่บ้านท่าตาฝั่ง ในอดีตเป็นเส้นทางค้าขายระหว่างอำเภอแม่สะเรียงกับจังหวัดผาปูนในพม่า ก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวัดผาปูนเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความเจริญพอสมควร ระหว่างจังหวัดผาปูน (ประเทศพม่า) กับอำเภอแม่สะเรียง (ประเทศไทย) มีแม่น้ำสาละวินกั้นพรมแดนทั้งสองประเทศ จากจังหวัดผาปูนถึงแม่น้ำสาละวิน มีระยะทางประมาณ 56 กิโลเมตร ที่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ทหารอังกฤษได้มาตั้งด่านชื่อว่า "ดากวิน" ภาษาพม่าออกเสียงเป็น "ดาเขว่" ส่วนฝั่งไทยมีสถานีตำรวจท่าตาฝั่ง ซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับหมู่บ้านท่าตาฝั่ง
ชื่อ "ท่าตาฝั่ง" สืบเนื่องมาจากประเทศพม่า จ.ผาปูน เป็นเหมือนหน้าด่านของพม่าด้านการค้าขายสินค้าและแร่ประเภทต่างๆ มาขายยังประเทศไทยด้านอำเภอแม่สะเรียง โดยการค้าขายสินค้าต่างๆ นั้น จากตัวเมืองพม่ามายัง จ.ผาปูน ขึ้นมาตามลำน้ำ แปโหละโกล๊ะ ขึ้นดอยไปยังบ้านปางไฮ แล้วมายังขุนห้วยอุมดา อยู่ตรงข้ามกับโรงพักเก่าท่าตาฝั่ง และข้ามน้ำสาละวินขึ้นที่ท่าตาฝั่ง (สถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่ง) แล้วขึ้นตามลำห้วยแม่กองคาพักที่ศาลา (ต่อมาเป็นศูนย์อพยพบ้านศาลา) แล้วเข้ามายังตัวเมืองแม่สะเรียง และอีกเส้นหนึ่ง จากบ้านปางไฮ ประเทศพม่า ลงมายังบ้านจอยับ แล้วล่องแพลงมายังท่าตาฝั่ง โดยนำสินค้าแร่ต่างๆ มาขึ้นที่สถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่งทั้งสินค้า แร่ต่างๆ ขึ้นจุดนี้ด้วย และอีกประการหนึ่งมีการตั้งสถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่ง เพื่อเป็นหูเป็นตาการเข้าออกของผู้คน ต้องผ่านจุดนี้ อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนสินค้า ในเส้นทางนี้ด้วย จึงเป็นท่าข้ามแพไป-มาและขนสินค้าขึ้นลงและยังมีเจ้าหน้าที่ประจำแห่งแรกริม แม่น้ำสาละวิน จึงมีชื่อว่า "ท่าตาฝั่ง"
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านท่าตาฝั่ง และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องจากอดีตถึงปัจจุบัน
จาก คำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เล่าว่า ครั้งแรกชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านเดสะอุถะ (บ้านแม่ปอในปัจจุบัน) ต่อมา ชาวบ้านบางส่วนย้ายจาก บ้านเดสะอุถะ ไปอยู่ที่ บ้านกอกุคี หรือขุนห้วยกองกุ๊ด และชาวบ้านบางส่วนไปอยู่ที่ บ้านเดะบือถะ ในลำห้วยแม่กองคา เนื่องจากบ้านเดิมมีโรคระบาด คือ โรคฝีดาษและโรคห่า (อหิวาตกโรค) เพื่อหาทำเลใหม่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์และมีพื้นที่ทำไร่พอเพียงและอยู่ใกล้กับ หมู่บ้านด้วย
ที่ตั้งบ้านกอกุคีจะอยู่ไกลจากแม่น้ำสาละวิน การไปหาปลาในแม่น้ำลำบาก อีกทั้งไม่มีที่ทำนา ชาวบ้านทำได้เฉพาะข้าวไร่เท่านั้น ชาวบ้านจึงได้ลงมาตั้งบ้านเรือนที่ บ้านโหนะถะ และพ่อเฒ่าจออู ศรีมาลีได้ลงมาบุกเบิกนาและทำนา ทั้งนาของลุงปรีชา ปัญญาคม และลุงอุดม พิกุลแก้ว ที่บ้านปัจจุบัน แต่ยังคงตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านโหนะถะ และชาวบ้านบางส่วนได้กระจายตั้งบ้านเรือนออกไปที่ บ้านกะบอเอะถะ และ บ้านเฮาะทีคี
ที่บ้านโหนะถะ ได้มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยมิชชั่นนารีจากอเมริกาเข้ามาทางประเทศพม่าและได้เข้าไปยังบ้านบนดอยต่างๆ และชาวบ้านโหนะถะ ได้รับเชื่อในพระเจ้าและได้ตั้งคริสตจักรขึ้นครั้งแรกที่ บ้านโหนะถะ (บ้านท่าตาฝั่งในปัจจุบัน)
พ.ศ.2466 ทางราชการได้ก่อสร้างสถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่ง โดยมี หัวหน้าสถานีคนแรกคือ สตอ.หมื่นบริบาล รำเภยศักดิ์ (พ.ศ.2466-2488) จากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2485-2489 มีหัวหน้าสถานีคือ สตอ.อิ่นคำ พิทักษ์ ซึ่งบันทึกของพ่อเฒ่าจออูระบุว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2485-2488) ไม่มีตำรวจประจำการที่สถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่งเลยแม้แต่คนเดียว
ในช่วงปีเดียวกัน มีการทำไม้ของบริษัทในประเทศไทยร่วมกับบริษัทอังกฤษ เช่น บริษัทอีสเอเชียติก, บริษัทบอมเบย์ เบอร์ม่า โดยการตัดไม้ให้ช้างลากลงในลำห้วย เวลาน้ำนองก็จะไหลมาตามลำห้วยลงสู่แม่น้ำสาละวิน แล้วไปจับเอาที่ปากแม่น้ำสาละวิน ณ เมืองเมาะละแม่ง (ชาวพม่าออกเสียงชื่อเมืองนี้ว่าเมาะลัมใย) พ่อเฒ่าจออู ศรีมาลี ซึ่งเคยทำงานเป็นเสมียนป่าไม้อำเภอแม่สะเรียงช่วงปี พ.ศ.2481-2484 ได้บันทึกไว้ว่า การทำไม้ที่นี่จะทำการคัดเลือกไม้และกาน ให้ตายประมาณ 3 ปี จึงตัดต้นไม้ได้ พื้นที่ที่คัดเลือกไม้นั้น คัดเลือกไม้ตั้งแต่บ้านจอท่าลงมาถึงห้วยแม่ปัว แต่ทำได้ไม่นานก็ต้องยุติเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ทางการก็ให้มีการทำไม้อีกครั้ง โดยเริ่มที่ห้วยแม่ปอ ห้วยแม่แวน ห้วยแม่สามแลบ และห้วยแม่ปัว
พ.ศ.2485 เป็นปีที่พ่อเฒ่าจออูได้บันทึกไว้ว่า ได้เข้ามาตั้งรกรากถาวรที่บ้านท่าตาฝั่ง (บ้านโหนะถะ) ก่อนหน้านี้ในช่วงของ สตอ.หมื่นบริบาล รำเภยศักดิ์ เมื่อเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่ง ได้พาเอาญาติพี่น้องเข้ามาบุกเบิกที่ไร่ที่นาในบริเวณนี้ และหลายครั้งที่ สตอ.หมื่นบริบาล รำเภยศักดิ์ ได้เข้ามารีดไถชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นหมู ไก่ ข้าวสาร รวมทั้งกับคนในครอบครัวของพ่อเฒ่าจออูเช่นกัน พ่อเฒ่าจออู ได้บันทึกไว้ อย่างเห็นภาพพจน์ว่า "ขณะที่ภรรยาของพ่อเฒ่าจออูอายุได้ 9 ขวบ ได้เลี้ยงหมูไว้ตัวหนึ่ง หมื่นบริบาลได้มากับตำรวจด้วยกัน ที่จำได้คือ ส.ต.อ.อิ่นคำ พิทักษ์ และพวกอีก 2-3 คน ถือหอกมาด้วย แล้วบอกว่าอยากได้หมูตัวนี้ ภรรยาผมขอร้องและร้องไห้เพราะเขายังเป็นเด็ก เพราะเขามีหมูตัวเดียว แต่ความกลัวหรือจะสู้อำนาจได้ หมื่นบริบาลสั่งลูกน้องให้แทงหมูตัวนั้น ในที่สุดพวกเขาก็ได้จัดการกับหมูตัวนั้นอย่างสมใจ ภรรยาผมบอกว่า ในขณะที่เขาเห็นพรรคพวกของหมื่นบริบาลเอาหอกแทงหมูของเขา เมื่อเห็นหมูดิ้นอย่างทุรนทุรายนั้น ด้วยความเป็นเด็กและด้วยความเจ็บปวดลึกๆ เขาก็นึกสาปแช่งในใจว่า ขอให้ตายเหมือนหมูของเขาเช่นกัน เมื่อสงคามสิ้นสุดลง พวกเราก็ได้ข่าวว่า หมื่นบริบาลถูกคนอีกฝั่งหนึ่งยิงขณะที่เก็บยอดตำลึงอยู่ริมฝั่งน้ำสาละวิ นด้านฝั่งไทย บ้างก็บอกว่าคนที่ยิงเขาคิดว่าเป็นสัตว์ป่า บ้างก็บอกว่าฝ่ายตรงข้ามสงสัยว่าเขาเป็นสายลับ หลุมฝังศพของหมื่นบริบาลก็ยังคงอยู่ที่หมู่บ้านท่าตาฝั่งนี้จนถึงทุกวันนี้"
ในบันทึกเดียวกันนี้ พ่อเฒ่าจออูได้กล่าวถึงชื่อหมู่บ้านไว้ว่า เมื่อมาตั้งบ้านแรกๆ นั้น คนสัญจรไปมาจะเรียกชื่อว่า บ้านน้อย-บ้านจออู ต่อมาในปี พ.ศ.2518 ตั้งชื่อเป็นหมู่บ้านทางการว่า บ้านท่าตาฝั่ง ในปี พ.ศ.2532 ทหารชุด ชค 35 เปลี่ยนชื่อเป็น หมู่บ้านนวบางระจันท่าตาฝั่ง
ต่อมาเริ่มมีการค้าขายแร่ดีบุก แร่วุลแฟรม จากพม่าไปยังเมืองแม่สะเรียง ผ่านแม่น้ำสาละวิน และหมู่บ้านท่าตาฝั่ง
พ.ศ.2008 ทางราชการได้ส่งทหารพลร่ม จ.ประจวบคีรีขันธ์ เข้ามาประจำการชายแดน เนื่องด้วยเหตุการณ์ชายแดนไทย-พม่า ไม่สงบ และสร้างสนามบินบ้านท่าตาฝั่ง ขณะที่ฝั่งประเทศพม่า ทหารพม่าได้มาตั้งฐานอยู่ตรงข้ามโรงพักท่าตาฝั่ง
พ.ศ.2509 ทหารพลร่มค่ายนเรศวร ได้สร้างโรงเรียนแห่งแรกขึ้นที่บ้านท่าตาฝั่ง ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนนเรศวรชูปถัมป์ 7" เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2508 โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากสมเด็จย่า 30,000 บาท ทั้งทหาร ชาวบ้านช่วยกันสร้างจนเสร็จ ในวันที่ 13 ธันวาคม 2509 เพื่อเป็นศูนย์รวมชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายในละแวกนั้น ให้มีที่เรียนหนังสือ ต่อมาทหารพลร่มได้ส่งมอบโรงเรียนให้แก่ตำรวจตระเวนชายแดน ที่เข้ามาแทน โดยมีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 73" พ่อเฒ่าจออู ศรีมาลี ได้บันทึกไว้ว่า ครั้งแรกมีนักเรียนเพียง 14 คนเท่านั้น เมื่อโอนมาอยู่กับตำรวจตระเวนชายแดน ก็มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 32 คน นับเป็นโชคดีของหมู่บ้านท่าตาฝั่ง ที่มีโรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งหมู่บ้านในละแวกใกล้เคียงยังไม่มีโรงเรียน ส่งผลให้เด็กนักเรียนที่นี่และกลุ่มบ้านใกล้เคียงมีโอกาสศึกษาต่อได้ในระดับ สูง คือ บ้านท่าตาฝั่ง บ้านกะบอเอะถะ และบ้านเฮาะทีคี
พ.ศ.2518 ชาวบ้านได้ย้ายบ้านจาก บ้านกะบอเอะถะ มาตั้งที่บ้านท่าตาฝั่งปัจจุบัน เนื่องจากที่เดิมมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ขณะที่พื้นที่เดิมคับแคบไม่สามารถขยายเพิ่มได้ และบ้านท่าตาฝั่งตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำสาละวิน สะดวกต่อการเดินทางทางเรือ และทางอำเภอแม่สะเรียง ได้แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านท่าตาฝั่งคนแรก คือ นายจออู ศรีมาลี
พ.ศ.2524 บริษัทสาละวินทำไม้จำกัด ได้เข้ามาสำรวจไม้ ตัดไม้และนำไม้ออก ในเขตพื้นที่สัมปทาน และบริษัทสาละวินทำไม้ จำกัด ได้ตัดถนนถึงบ้านท่าตาฝั่งในปี พ.ศ.2525
พ.ศ.2528 กรมป่าไม้ได้ดำเนินการเตรียมการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสาละวิน ซึ่งครอบคลุมหมู่บ้านท่าตาฝั่งด้วย และสร้างสำนักงานอุทยานแห่งชาติที่บ้านท่าตาฝั่งเสร็จในระหว่างปี พ.ศ.2536-2538 พ่อเฒ่าจออู ได้บันทึกถึงเรื่องราวปัญหาระหว่างเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับชาวบ้านไว้ว่า "เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้มาประชุมชาวบ้าน เพื่อก่อตั้งสำนักงานอุทยานแห่งชาติสาละวิน ใกล้กับหมู่บ้านท่าตาฝั่ง ในขณะนั้นชาวบ้านก็ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใด เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เข้ามาประจำอยู่ที่นี่ ได้เข้ามาข่มขู่ชาวบ้านในการทำมาหากิน การทำไร่ โดยอ้างสิทธิ์อย่างโน้นอย่างนี้สารพัด ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่คนหนึ่งมานั่งคุยกับผม และต่อว่าพวกเราในเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า และแนะนำว่าให้ปลูกถั่วเหลืองสลับกับปลูกข้าว ผมนั่งฟังด้วยความอดทนเมื่อเขาพูดจบ ผมบอกว่ากลับไปบอกหัวหน้าของคุณเลยนะว่า ให้เขาทดลองกินถั่วเหลืองทั้งอาทิตย์ก่อน ผมกำหนดให้แค่ 1 อาทิตย์เท่านั้น ถ้ากินได้กลับมาบอกผมอีกครั้ง แล้วผมจะให้ชาวบ้านปลูกถั่วเหลืองกินแทนข้าว
นอกจากนั้น ชาวบ้านเก็บผัก หาหน่อไม้ ก็มีปัญหากับเจ้าหน้าที่ แม้กระทั่งการที่ชาวบ้านไปเก็บใบไม้แห้งเพื่อมาเย็บมุงหลังคาบ้าน ทั้งๆ ที่เป็นใบไม้ที่แห้งและร่วงแล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาไม่ให้เก็บ ผมไม่รู้ว่าจะเก็บเอาไว้ทำอะไร ชาวบ้านจะหาผักหาปลาก็ไม่ได้ถูกข่มขู่ตลอด ชาวบ้านก็กลัวเพราะคิดว่าพวกเขาเป็นคนของรัฐ บางครั้งก็พูดคุยตกลงกันได้ แต่เจ้าหน้าที่ก็โยกย้ายบ่อยบางทีคนเก่าอนุโลม แต่คนใหม่ไม่อนุโลม เป็นเหตุที่ต้องนั่งพูดคุยกันวนเวียนอยู่อย่างนั้น
หลังจากตั้งสำนักงานอุทยานมาได้ 6 ปี มีรายงานจากสื่อโทรทัศน์รายงานว่าอุทยานแห่งนี้ตั้งมาได้ 6 ปี และหมู่บ้านท่าตาฝั่งตั้งได้แค่ 8 ปี เท่านั้น สรุปแล้วหมู่บ้านท่าตาฝั่งตั้งก่อนอุทยานได้แค่ 2 ปี เท่านั้น ผมรู้สึกเจ็บใจ และไม่พอใจกับข่าวที่ออกมาอย่างนั้น ได้แต่นั่งคิดว่าทำไมไม่มาถามคนที่อยู่ที่นี่ เล่นไปถามคนที่ไม่เคยอยู่ที่นี่ เขาจะรู้เรื่องอะไร ผมมาอยู่ที่นี่นานกว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนด้วยซ้ำ อันทีจริงพวกเขาก็ยังไม่เกิดด้วยซ้ำไป ยังดีที่ผมฟังภาษาไทยได้ ไม่อย่างนั้นแล้วคงถูกเอารัดเอาเปรียบมากกว่านี้..."
พ.ศ.2531 รัฐบาลไทยประกาศยกเลิกสัมปทานไม้ในเขตไทยและบริษัททำไม้ไทยเริ่มเข้าทำไม้ใน ประเทศพม่า และบริษัทที่ทำไม้ได้เปิดการค้าไม้กับชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน เช่น กลุ่ม KNU การทำไม้ในฝั่งพม่า มีการตั้งโรงเลื่อยในจุดต่างๆ รวมทั้งมีการตั้งโรงเลื่อยไม้แปรรูปฝั่งพม่าตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่ง แล้วนำเข้าประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดตาก ส่งผลให้มีผู้คนจากที่ต่างๆ ได้หลั่งไหลเข้ามาเพื่อทำไม้ในฝั่งพม่าทั้งที่เป็นคนไทย พม่า กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ และมุสลิม
พ.ศ.2532 ตำรวจตระเวนชายแดนได้เข้ามาประจำที่หมู่บ้านท่าตาฝั่ง แทนตำรวจพลร่ม ในฝั่งพม่า มีนักศึกษาพม่ามาตั้งค่ายที่โค้งดากวินตรงข้ามหมู่บ้าน
พ.ศ.2534-2535 บริษัทแม่เมยทำไม้ จำกัด นำไม้ซุงจากฝั่งพม่า นำเข้าเส้นทางท่าตาฝั่ง โดยมีเจ้าหน้าที่ศุลกากรมาประจำหน้าที่เป็นการชั่วคราว ในปี พ.ศ.2534 และ พ.ศ.2535 ปีละ 5 เดือน ระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน ส่วนทางตอนเหนือหมู่บ้านตามแม่น้ำสาละวิน ที่หมู่บ้านจอท่า ถูกทหารพม่าตีแตกและเผาหมู่บ้าน และมีการตั้งศูนย์อพยพที่ห้วยอ้อยและห้วยแม่แวง
พ.ศ.2536 ชาวคะเรนนีถูกทหารพม่าเผาบ้านและฉางข้าว ในฝั่งไทยมีการตั้งศูนย์อพยพที่บ้านยางเฒ่า เพื่อรองรับผู้อพยพชาวคะเรนนี ขณะที่ในประเทศพม่า ทหารพม่าเข้ามาตีค่าย KNU ที่บ้านอูสุท่า และยิงปืนครกมาตกท้ายบ้านท่าตาฝั่ง 2 ลูก
พ.ศ.2538 เกิดความแตกแยกในกลุ่มกะเหรี่ยง แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ KNU กับ DKBA กลุ่ม DKBA ได้ร่วมกับทหารพม่าเข้ามาตีฐานทหารกะเหรี่ยงตามจุดต่างๆ รวมทั้งนักศึกษาพม่าต้วย และสามารถตีค่ายมาเนอปลอของกลุ่ม KNU แตก นอกจากนี้กลุ่ม DKBA ยังได้เข้ามาเผาค่ายผู้อพยพกะทีถะ(บริเวณสบห้วยแม่ปอ) เพื่อบังคับให้ลูกเมียและญาติพี่น้องของตนเองลงไปอยู่ในประเทศพม่าด้วยกัน และนักศึกษาพม่าย้ายออกจากโค้งดากวิน และได้เข้ามาในลำห้วยแม่กองคา และจัดตั้งศูนย์นักศึกษาพม่าที่ ห้วยฮกและห้วยเต่า และทหารพม่าได้เข้ามาตั้งฐานติดชายแดนตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่ง
ตั้งแต่ค่ายมาเนอปลอแตกในปี พ.ศ.2538 สภาพวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำสาละวินได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย จากเดิมชาวบ้านวิ่งเรือจากสบเมยลงไปถึงฮัทจีและตามหมู่บ้านต่างๆ ทางใต้ มีการค้าขายตลอดตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า เช่น
- การค้าขายของป่าตามฤดูกาลที่ออก ได้แก่ เห็ด หน่อไม้ หน่อหวาย น้ำผึ้ง หวายต่างๆ
- สินค้าพืชผลการเกษตรต่างๆ เช่น พริกแห้ง งา มะอี
- การเข้าไปเก็บหาพืชผัก สัตว์บก สัตว์น้ำต่างๆ ทั้งสองฝั่ง
- การเข้าไปค้าขายซื้อวัว ควายในฝั่งพม่า
- ทางเหนือจากสบเมยจนถึงตะกอท่า มีเรือวิ่งส่งสินค้า ผู้โดยสาร วัว ควายต่างๆ มีการค้าขายทำไม้ตลอดทั้งสาย เข้าไปในเขตพม่าได้ทุกจุด ไม่ต้องกลัวกับระเบิด เข้าออกได้ทุกจุดตลอดแนวที่เป็นเขตรับผิดชอบของ KNU
และหลังจากที่ค่ายมาเนอปลอ แตกวิถีชีวิตเปลี่ยนไปมาก การวิ่งเรือเข้าไปในเขตพม่าจากสบเมย ลงไปในเขตพม่าไม่สามารถวิ่งเรือได้ ไม่สามารถค้าขายได้อย่างสะดวกสบายเหมือนก่อน ของป่า สินค้าเกษตร การหาสัตว์น้ำไม่สามารถทำได้สะดวกเหมือนเก่า การเข้าออกตามจุดต่างๆ ไม่สามารถเข้าได้ตามใจชอบ เนื่องจากมีทหารพม่าอยู่ลาดตระเวน กับระเบิดที่ถูกวางโดยทหาร KNU DKBA ทหารพม่า นักศึกษาพม่า ตามบ้านเก่าหรือจุดล่อแหลมต่างๆ เป็นจุดอันตราย การวิ่งเรือไม่สามารถวิ่งได้ตลอด
หมู่ บ้านท่าตาฝั่งในปัจจุบัน ตั้งอยู่บริเวณสบห้วยแม่กองคากับแม่น้ำสาละวิน ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า นายจออู ศรีมาลี เป็นคนแรกที่มาก่อตั้งหมู่บ้านนี้ พ.ศ.2484 เดิมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านน้อย-บ้านจออู" พ.ศ.2518 จึงถูกยกฐานะเป็นหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายจออู ศรีมาลี
เดิมทีชาวบ้านจะตั้งบ้านเรือนเป็นหย่อมๆ และอยู่รวมกันเป็นเครือญาติ ตามลำห้วยที่อุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ พืชผักธัญญาหารต่างๆ รวมทั้งพื้นที่ทำการเกษตร ในลำห้วยหรือขุนห้วย หมู่บ้านหรือหย่อมบ้านที่เกี่ยวข้องกัน ในอดีตเป็นหมู่บ้านที่เดียวกัน คือ บ้านแม่กองคา บ้านกลาง บ้านหม้อหล้า ปัจจุบันตั้งชื่อเป็นบ้านแม่กองคา หมู่ที่ 10 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ส่วนบ้านแม่ปอและบ้านท่าตาฝั่งปัจจุบันยังเป็นหมู่บ้านเดียวกัน คือ บ้านท่าตาฝั่ง หมู่ที่ 7 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ชาวบ้านท่าตาฝั่งประกอบด้วยคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง และกลุ่มผู้อพยพจากประเทศพม่าอันเนื่องมาจากปัญหาความไม่สงบภายใน ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์คณะแบ๊ปติสต์ สังกัดสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย (ภาคที่ 19) ในหมู่บ้านมีโรงเรียน 1 แห่ง สร้างเมื่อ พ.ศ.2509
ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านท่าตาฝั่งที่มีบัตรประเภทต่างๆ ทร.14 จำนวนทั้งหมด แยกเป็นชาย 218 คน หญิง 197 คน รวม 604 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด เฉพาะที่บ้านท่าตาฝั่ง 83 หลังคาเรือน บ้านแม่ปอ 31 หลังคาเรือน ชาวบ้านท่าตาฝั่งมีรายได้เฉลี่ย 5,000 - 8,000 บาทต่อครอบครัวต่อปีโดยประมาณ
ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ข้าว ทำสวน ปลูกผักริมแม่น้ำสาละวินในฤดูแล้ง เลี้ยงสัตว์(แพะ) ทำการประมง หาของป่า เช่น น้ำผึ้ง อาชีพเสริมอื่นๆ ได้แก่ ค้าขาย รับจ้างแล่นเรือในแม่น้ำสาละวิน จักสาน ทอผ้า และการทำการท่องเที่ยวแบบ HOME STAY ในบ้านท่าตาฝั่ง ชาวบ้านมีที่นาทั้งหมด 28 ครัวเรือน พื้นที่นารวม 245 ไร่ มีที่ทำไร่ทั้งหมด 10 ครอบครัว พื้นที่ทำไร่รวม 250 ไร่ และชาวบ้านที่ไม่มีที่นาและไร่ทั้งหมดรวม 45 ครอบครัว
ที่ตั้งของหมู่บ้านท่าตาฝั่ง ในอดีตเป็นเส้นทางค้าขายระหว่างอำเภอแม่สะเรียงกับจังหวัดผาปูนในพม่า ก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวัดผาปูนเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความเจริญพอสมควร ระหว่างจังหวัดผาปูน (ประเทศพม่า) กับอำเภอแม่สะเรียง (ประเทศไทย) มีแม่น้ำสาละวินกั้นพรมแดนทั้งสองประเทศ จากจังหวัดผาปูนถึงแม่น้ำสาละวิน มีระยะทางประมาณ 56 กิโลเมตร ที่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ทหารอังกฤษได้มาตั้งด่านชื่อว่า "ดากวิน" ภาษาพม่าออกเสียงเป็น "ดาเขว่" ส่วนฝั่งไทยมีสถานีตำรวจท่าตาฝั่ง ซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับหมู่บ้านท่าตาฝั่ง
ชื่อ "ท่าตาฝั่ง" สืบเนื่องมาจากประเทศพม่า จ.ผาปูน เป็นเหมือนหน้าด่านของพม่าด้านการค้าขายสินค้าและแร่ประเภทต่างๆ มาขายยังประเทศไทยด้านอำเภอแม่สะเรียง โดยการค้าขายสินค้าต่างๆ นั้น จากตัวเมืองพม่ามายัง จ.ผาปูน ขึ้นมาตามลำน้ำ แปโหละโกล๊ะ ขึ้นดอยไปยังบ้านปางไฮ แล้วมายังขุนห้วยอุมดา อยู่ตรงข้ามกับโรงพักเก่าท่าตาฝั่ง และข้ามน้ำสาละวินขึ้นที่ท่าตาฝั่ง (สถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่ง) แล้วขึ้นตามลำห้วยแม่กองคาพักที่ศาลา (ต่อมาเป็นศูนย์อพยพบ้านศาลา) แล้วเข้ามายังตัวเมืองแม่สะเรียง และอีกเส้นหนึ่ง จากบ้านปางไฮ ประเทศพม่า ลงมายังบ้านจอยับ แล้วล่องแพลงมายังท่าตาฝั่ง โดยนำสินค้าแร่ต่างๆ มาขึ้นที่สถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่งทั้งสินค้า แร่ต่างๆ ขึ้นจุดนี้ด้วย และอีกประการหนึ่งมีการตั้งสถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่ง เพื่อเป็นหูเป็นตาการเข้าออกของผู้คน ต้องผ่านจุดนี้ อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนสินค้า ในเส้นทางนี้ด้วย จึงเป็นท่าข้ามแพไป-มาและขนสินค้าขึ้นลงและยังมีเจ้าหน้าที่ประจำแห่งแรกริม แม่น้ำสาละวิน จึงมีชื่อว่า "ท่าตาฝั่ง"
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านท่าตาฝั่ง และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องจากอดีตถึงปัจจุบัน
จาก คำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เล่าว่า ครั้งแรกชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านเดสะอุถะ (บ้านแม่ปอในปัจจุบัน) ต่อมา ชาวบ้านบางส่วนย้ายจาก บ้านเดสะอุถะ ไปอยู่ที่ บ้านกอกุคี หรือขุนห้วยกองกุ๊ด และชาวบ้านบางส่วนไปอยู่ที่ บ้านเดะบือถะ ในลำห้วยแม่กองคา เนื่องจากบ้านเดิมมีโรคระบาด คือ โรคฝีดาษและโรคห่า (อหิวาตกโรค) เพื่อหาทำเลใหม่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์และมีพื้นที่ทำไร่พอเพียงและอยู่ใกล้กับ หมู่บ้านด้วย
ที่ตั้งบ้านกอกุคีจะอยู่ไกลจากแม่น้ำสาละวิน การไปหาปลาในแม่น้ำลำบาก อีกทั้งไม่มีที่ทำนา ชาวบ้านทำได้เฉพาะข้าวไร่เท่านั้น ชาวบ้านจึงได้ลงมาตั้งบ้านเรือนที่ บ้านโหนะถะ และพ่อเฒ่าจออู ศรีมาลีได้ลงมาบุกเบิกนาและทำนา ทั้งนาของลุงปรีชา ปัญญาคม และลุงอุดม พิกุลแก้ว ที่บ้านปัจจุบัน แต่ยังคงตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านโหนะถะ และชาวบ้านบางส่วนได้กระจายตั้งบ้านเรือนออกไปที่ บ้านกะบอเอะถะ และ บ้านเฮาะทีคี
ที่บ้านโหนะถะ ได้มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยมิชชั่นนารีจากอเมริกาเข้ามาทางประเทศพม่าและได้เข้าไปยังบ้านบนดอยต่างๆ และชาวบ้านโหนะถะ ได้รับเชื่อในพระเจ้าและได้ตั้งคริสตจักรขึ้นครั้งแรกที่ บ้านโหนะถะ (บ้านท่าตาฝั่งในปัจจุบัน)
พ.ศ.2466 ทางราชการได้ก่อสร้างสถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่ง โดยมี หัวหน้าสถานีคนแรกคือ สตอ.หมื่นบริบาล รำเภยศักดิ์ (พ.ศ.2466-2488) จากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2485-2489 มีหัวหน้าสถานีคือ สตอ.อิ่นคำ พิทักษ์ ซึ่งบันทึกของพ่อเฒ่าจออูระบุว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2485-2488) ไม่มีตำรวจประจำการที่สถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่งเลยแม้แต่คนเดียว
ในช่วงปีเดียวกัน มีการทำไม้ของบริษัทในประเทศไทยร่วมกับบริษัทอังกฤษ เช่น บริษัทอีสเอเชียติก, บริษัทบอมเบย์ เบอร์ม่า โดยการตัดไม้ให้ช้างลากลงในลำห้วย เวลาน้ำนองก็จะไหลมาตามลำห้วยลงสู่แม่น้ำสาละวิน แล้วไปจับเอาที่ปากแม่น้ำสาละวิน ณ เมืองเมาะละแม่ง (ชาวพม่าออกเสียงชื่อเมืองนี้ว่าเมาะลัมใย) พ่อเฒ่าจออู ศรีมาลี ซึ่งเคยทำงานเป็นเสมียนป่าไม้อำเภอแม่สะเรียงช่วงปี พ.ศ.2481-2484 ได้บันทึกไว้ว่า การทำไม้ที่นี่จะทำการคัดเลือกไม้และกาน ให้ตายประมาณ 3 ปี จึงตัดต้นไม้ได้ พื้นที่ที่คัดเลือกไม้นั้น คัดเลือกไม้ตั้งแต่บ้านจอท่าลงมาถึงห้วยแม่ปัว แต่ทำได้ไม่นานก็ต้องยุติเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ทางการก็ให้มีการทำไม้อีกครั้ง โดยเริ่มที่ห้วยแม่ปอ ห้วยแม่แวน ห้วยแม่สามแลบ และห้วยแม่ปัว
พ.ศ.2485 เป็นปีที่พ่อเฒ่าจออูได้บันทึกไว้ว่า ได้เข้ามาตั้งรกรากถาวรที่บ้านท่าตาฝั่ง (บ้านโหนะถะ) ก่อนหน้านี้ในช่วงของ สตอ.หมื่นบริบาล รำเภยศักดิ์ เมื่อเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่ง ได้พาเอาญาติพี่น้องเข้ามาบุกเบิกที่ไร่ที่นาในบริเวณนี้ และหลายครั้งที่ สตอ.หมื่นบริบาล รำเภยศักดิ์ ได้เข้ามารีดไถชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นหมู ไก่ ข้าวสาร รวมทั้งกับคนในครอบครัวของพ่อเฒ่าจออูเช่นกัน พ่อเฒ่าจออู ได้บันทึกไว้ อย่างเห็นภาพพจน์ว่า "ขณะที่ภรรยาของพ่อเฒ่าจออูอายุได้ 9 ขวบ ได้เลี้ยงหมูไว้ตัวหนึ่ง หมื่นบริบาลได้มากับตำรวจด้วยกัน ที่จำได้คือ ส.ต.อ.อิ่นคำ พิทักษ์ และพวกอีก 2-3 คน ถือหอกมาด้วย แล้วบอกว่าอยากได้หมูตัวนี้ ภรรยาผมขอร้องและร้องไห้เพราะเขายังเป็นเด็ก เพราะเขามีหมูตัวเดียว แต่ความกลัวหรือจะสู้อำนาจได้ หมื่นบริบาลสั่งลูกน้องให้แทงหมูตัวนั้น ในที่สุดพวกเขาก็ได้จัดการกับหมูตัวนั้นอย่างสมใจ ภรรยาผมบอกว่า ในขณะที่เขาเห็นพรรคพวกของหมื่นบริบาลเอาหอกแทงหมูของเขา เมื่อเห็นหมูดิ้นอย่างทุรนทุรายนั้น ด้วยความเป็นเด็กและด้วยความเจ็บปวดลึกๆ เขาก็นึกสาปแช่งในใจว่า ขอให้ตายเหมือนหมูของเขาเช่นกัน เมื่อสงคามสิ้นสุดลง พวกเราก็ได้ข่าวว่า หมื่นบริบาลถูกคนอีกฝั่งหนึ่งยิงขณะที่เก็บยอดตำลึงอยู่ริมฝั่งน้ำสาละวิ นด้านฝั่งไทย บ้างก็บอกว่าคนที่ยิงเขาคิดว่าเป็นสัตว์ป่า บ้างก็บอกว่าฝ่ายตรงข้ามสงสัยว่าเขาเป็นสายลับ หลุมฝังศพของหมื่นบริบาลก็ยังคงอยู่ที่หมู่บ้านท่าตาฝั่งนี้จนถึงทุกวันนี้"
ในบันทึกเดียวกันนี้ พ่อเฒ่าจออูได้กล่าวถึงชื่อหมู่บ้านไว้ว่า เมื่อมาตั้งบ้านแรกๆ นั้น คนสัญจรไปมาจะเรียกชื่อว่า บ้านน้อย-บ้านจออู ต่อมาในปี พ.ศ.2518 ตั้งชื่อเป็นหมู่บ้านทางการว่า บ้านท่าตาฝั่ง ในปี พ.ศ.2532 ทหารชุด ชค 35 เปลี่ยนชื่อเป็น หมู่บ้านนวบางระจันท่าตาฝั่ง
ต่อมาเริ่มมีการค้าขายแร่ดีบุก แร่วุลแฟรม จากพม่าไปยังเมืองแม่สะเรียง ผ่านแม่น้ำสาละวิน และหมู่บ้านท่าตาฝั่ง
พ.ศ.2008 ทางราชการได้ส่งทหารพลร่ม จ.ประจวบคีรีขันธ์ เข้ามาประจำการชายแดน เนื่องด้วยเหตุการณ์ชายแดนไทย-พม่า ไม่สงบ และสร้างสนามบินบ้านท่าตาฝั่ง ขณะที่ฝั่งประเทศพม่า ทหารพม่าได้มาตั้งฐานอยู่ตรงข้ามโรงพักท่าตาฝั่ง
พ.ศ.2509 ทหารพลร่มค่ายนเรศวร ได้สร้างโรงเรียนแห่งแรกขึ้นที่บ้านท่าตาฝั่ง ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนนเรศวรชูปถัมป์ 7" เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2508 โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากสมเด็จย่า 30,000 บาท ทั้งทหาร ชาวบ้านช่วยกันสร้างจนเสร็จ ในวันที่ 13 ธันวาคม 2509 เพื่อเป็นศูนย์รวมชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายในละแวกนั้น ให้มีที่เรียนหนังสือ ต่อมาทหารพลร่มได้ส่งมอบโรงเรียนให้แก่ตำรวจตระเวนชายแดน ที่เข้ามาแทน โดยมีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 73" พ่อเฒ่าจออู ศรีมาลี ได้บันทึกไว้ว่า ครั้งแรกมีนักเรียนเพียง 14 คนเท่านั้น เมื่อโอนมาอยู่กับตำรวจตระเวนชายแดน ก็มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 32 คน นับเป็นโชคดีของหมู่บ้านท่าตาฝั่ง ที่มีโรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งหมู่บ้านในละแวกใกล้เคียงยังไม่มีโรงเรียน ส่งผลให้เด็กนักเรียนที่นี่และกลุ่มบ้านใกล้เคียงมีโอกาสศึกษาต่อได้ในระดับ สูง คือ บ้านท่าตาฝั่ง บ้านกะบอเอะถะ และบ้านเฮาะทีคี
พ.ศ.2518 ชาวบ้านได้ย้ายบ้านจาก บ้านกะบอเอะถะ มาตั้งที่บ้านท่าตาฝั่งปัจจุบัน เนื่องจากที่เดิมมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ขณะที่พื้นที่เดิมคับแคบไม่สามารถขยายเพิ่มได้ และบ้านท่าตาฝั่งตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำสาละวิน สะดวกต่อการเดินทางทางเรือ และทางอำเภอแม่สะเรียง ได้แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านท่าตาฝั่งคนแรก คือ นายจออู ศรีมาลี
พ.ศ.2524 บริษัทสาละวินทำไม้จำกัด ได้เข้ามาสำรวจไม้ ตัดไม้และนำไม้ออก ในเขตพื้นที่สัมปทาน และบริษัทสาละวินทำไม้ จำกัด ได้ตัดถนนถึงบ้านท่าตาฝั่งในปี พ.ศ.2525
พ.ศ.2528 กรมป่าไม้ได้ดำเนินการเตรียมการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสาละวิน ซึ่งครอบคลุมหมู่บ้านท่าตาฝั่งด้วย และสร้างสำนักงานอุทยานแห่งชาติที่บ้านท่าตาฝั่งเสร็จในระหว่างปี พ.ศ.2536-2538 พ่อเฒ่าจออู ได้บันทึกถึงเรื่องราวปัญหาระหว่างเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับชาวบ้านไว้ว่า "เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้มาประชุมชาวบ้าน เพื่อก่อตั้งสำนักงานอุทยานแห่งชาติสาละวิน ใกล้กับหมู่บ้านท่าตาฝั่ง ในขณะนั้นชาวบ้านก็ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใด เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เข้ามาประจำอยู่ที่นี่ ได้เข้ามาข่มขู่ชาวบ้านในการทำมาหากิน การทำไร่ โดยอ้างสิทธิ์อย่างโน้นอย่างนี้สารพัด ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่คนหนึ่งมานั่งคุยกับผม และต่อว่าพวกเราในเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า และแนะนำว่าให้ปลูกถั่วเหลืองสลับกับปลูกข้าว ผมนั่งฟังด้วยความอดทนเมื่อเขาพูดจบ ผมบอกว่ากลับไปบอกหัวหน้าของคุณเลยนะว่า ให้เขาทดลองกินถั่วเหลืองทั้งอาทิตย์ก่อน ผมกำหนดให้แค่ 1 อาทิตย์เท่านั้น ถ้ากินได้กลับมาบอกผมอีกครั้ง แล้วผมจะให้ชาวบ้านปลูกถั่วเหลืองกินแทนข้าว
นอกจากนั้น ชาวบ้านเก็บผัก หาหน่อไม้ ก็มีปัญหากับเจ้าหน้าที่ แม้กระทั่งการที่ชาวบ้านไปเก็บใบไม้แห้งเพื่อมาเย็บมุงหลังคาบ้าน ทั้งๆ ที่เป็นใบไม้ที่แห้งและร่วงแล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาไม่ให้เก็บ ผมไม่รู้ว่าจะเก็บเอาไว้ทำอะไร ชาวบ้านจะหาผักหาปลาก็ไม่ได้ถูกข่มขู่ตลอด ชาวบ้านก็กลัวเพราะคิดว่าพวกเขาเป็นคนของรัฐ บางครั้งก็พูดคุยตกลงกันได้ แต่เจ้าหน้าที่ก็โยกย้ายบ่อยบางทีคนเก่าอนุโลม แต่คนใหม่ไม่อนุโลม เป็นเหตุที่ต้องนั่งพูดคุยกันวนเวียนอยู่อย่างนั้น
หลังจากตั้งสำนักงานอุทยานมาได้ 6 ปี มีรายงานจากสื่อโทรทัศน์รายงานว่าอุทยานแห่งนี้ตั้งมาได้ 6 ปี และหมู่บ้านท่าตาฝั่งตั้งได้แค่ 8 ปี เท่านั้น สรุปแล้วหมู่บ้านท่าตาฝั่งตั้งก่อนอุทยานได้แค่ 2 ปี เท่านั้น ผมรู้สึกเจ็บใจ และไม่พอใจกับข่าวที่ออกมาอย่างนั้น ได้แต่นั่งคิดว่าทำไมไม่มาถามคนที่อยู่ที่นี่ เล่นไปถามคนที่ไม่เคยอยู่ที่นี่ เขาจะรู้เรื่องอะไร ผมมาอยู่ที่นี่นานกว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนด้วยซ้ำ อันทีจริงพวกเขาก็ยังไม่เกิดด้วยซ้ำไป ยังดีที่ผมฟังภาษาไทยได้ ไม่อย่างนั้นแล้วคงถูกเอารัดเอาเปรียบมากกว่านี้..."
พ.ศ.2531 รัฐบาลไทยประกาศยกเลิกสัมปทานไม้ในเขตไทยและบริษัททำไม้ไทยเริ่มเข้าทำไม้ใน ประเทศพม่า และบริษัทที่ทำไม้ได้เปิดการค้าไม้กับชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน เช่น กลุ่ม KNU การทำไม้ในฝั่งพม่า มีการตั้งโรงเลื่อยในจุดต่างๆ รวมทั้งมีการตั้งโรงเลื่อยไม้แปรรูปฝั่งพม่าตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่ง แล้วนำเข้าประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดตาก ส่งผลให้มีผู้คนจากที่ต่างๆ ได้หลั่งไหลเข้ามาเพื่อทำไม้ในฝั่งพม่าทั้งที่เป็นคนไทย พม่า กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ และมุสลิม
พ.ศ.2532 ตำรวจตระเวนชายแดนได้เข้ามาประจำที่หมู่บ้านท่าตาฝั่ง แทนตำรวจพลร่ม ในฝั่งพม่า มีนักศึกษาพม่ามาตั้งค่ายที่โค้งดากวินตรงข้ามหมู่บ้าน
พ.ศ.2534-2535 บริษัทแม่เมยทำไม้ จำกัด นำไม้ซุงจากฝั่งพม่า นำเข้าเส้นทางท่าตาฝั่ง โดยมีเจ้าหน้าที่ศุลกากรมาประจำหน้าที่เป็นการชั่วคราว ในปี พ.ศ.2534 และ พ.ศ.2535 ปีละ 5 เดือน ระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน ส่วนทางตอนเหนือหมู่บ้านตามแม่น้ำสาละวิน ที่หมู่บ้านจอท่า ถูกทหารพม่าตีแตกและเผาหมู่บ้าน และมีการตั้งศูนย์อพยพที่ห้วยอ้อยและห้วยแม่แวง
พ.ศ.2536 ชาวคะเรนนีถูกทหารพม่าเผาบ้านและฉางข้าว ในฝั่งไทยมีการตั้งศูนย์อพยพที่บ้านยางเฒ่า เพื่อรองรับผู้อพยพชาวคะเรนนี ขณะที่ในประเทศพม่า ทหารพม่าเข้ามาตีค่าย KNU ที่บ้านอูสุท่า และยิงปืนครกมาตกท้ายบ้านท่าตาฝั่ง 2 ลูก
พ.ศ.2538 เกิดความแตกแยกในกลุ่มกะเหรี่ยง แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ KNU กับ DKBA กลุ่ม DKBA ได้ร่วมกับทหารพม่าเข้ามาตีฐานทหารกะเหรี่ยงตามจุดต่างๆ รวมทั้งนักศึกษาพม่าต้วย และสามารถตีค่ายมาเนอปลอของกลุ่ม KNU แตก นอกจากนี้กลุ่ม DKBA ยังได้เข้ามาเผาค่ายผู้อพยพกะทีถะ(บริเวณสบห้วยแม่ปอ) เพื่อบังคับให้ลูกเมียและญาติพี่น้องของตนเองลงไปอยู่ในประเทศพม่าด้วยกัน และนักศึกษาพม่าย้ายออกจากโค้งดากวิน และได้เข้ามาในลำห้วยแม่กองคา และจัดตั้งศูนย์นักศึกษาพม่าที่ ห้วยฮกและห้วยเต่า และทหารพม่าได้เข้ามาตั้งฐานติดชายแดนตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่ง
ตั้งแต่ค่ายมาเนอปลอแตกในปี พ.ศ.2538 สภาพวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำสาละวินได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย จากเดิมชาวบ้านวิ่งเรือจากสบเมยลงไปถึงฮัทจีและตามหมู่บ้านต่างๆ ทางใต้ มีการค้าขายตลอดตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า เช่น
- การค้าขายของป่าตามฤดูกาลที่ออก ได้แก่ เห็ด หน่อไม้ หน่อหวาย น้ำผึ้ง หวายต่างๆ
- สินค้าพืชผลการเกษตรต่างๆ เช่น พริกแห้ง งา มะอี
- การเข้าไปเก็บหาพืชผัก สัตว์บก สัตว์น้ำต่างๆ ทั้งสองฝั่ง
- การเข้าไปค้าขายซื้อวัว ควายในฝั่งพม่า
- ทางเหนือจากสบเมยจนถึงตะกอท่า มีเรือวิ่งส่งสินค้า ผู้โดยสาร วัว ควายต่างๆ มีการค้าขายทำไม้ตลอดทั้งสาย เข้าไปในเขตพม่าได้ทุกจุด ไม่ต้องกลัวกับระเบิด เข้าออกได้ทุกจุดตลอดแนวที่เป็นเขตรับผิดชอบของ KNU
และหลังจากที่ค่ายมาเนอปลอ แตกวิถีชีวิตเปลี่ยนไปมาก การวิ่งเรือเข้าไปในเขตพม่าจากสบเมย ลงไปในเขตพม่าไม่สามารถวิ่งเรือได้ ไม่สามารถค้าขายได้อย่างสะดวกสบายเหมือนก่อน ของป่า สินค้าเกษตร การหาสัตว์น้ำไม่สามารถทำได้สะดวกเหมือนเก่า การเข้าออกตามจุดต่างๆ ไม่สามารถเข้าได้ตามใจชอบ เนื่องจากมีทหารพม่าอยู่ลาดตระเวน กับระเบิดที่ถูกวางโดยทหาร KNU DKBA ทหารพม่า นักศึกษาพม่า ตามบ้านเก่าหรือจุดล่อแหลมต่างๆ เป็นจุดอันตราย การวิ่งเรือไม่สามารถวิ่งได้ตลอด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)